9ข้อควรจำก่อนสอบเลข9วิชาสามัญ
25 ก.ค.

9ข้อควรจำก่อนสอบเลข9วิชาสามัญ

1) ทำไมต้อง 70 คะแนน up
–  วิชาคณิตศาสตร์ต้องเป็นวิชาฉุด ไม่ใช่วิชาดึง ( ทำเกิน 70% ไม่ยาก เพราะขอบเขตที่ออกสอบชัดเจน ไม่กว้างมาก ใช้เวลาอ่านและฝึกทำข้อสอบไม่มาก )
–  อย่าไว้ใจวิชาความถนัด ( วิชาเฉพาะ ) ถึงจะถ่วงน้ำหนักมากถึง 30 % แต่ลองถามรุ่นพี่ๆปีก่อนๆดู มีเหนือความคาดหมายมาตลอด
–  คนที่ได้คะแนนเลข 9 วิชา เกิน 70 คะแนน  มีประมาณปีละ 1,000 คน แต่… 10 คณะแรก กสพท. รับประมาณปีละ 1,000 คน  เช่นเดียวกัน!!

ปล. ในจำนวนคนที่ได้คะแนนเลข 9 วิชา เกิน 70 คะแนน อาจไม่ได้เลือก 10 คณะแรกกสพท.ทั้งหมด แต่ก็ไม่ควรเอาอนาคตมาเสี่ยง จริงไหมครับ ดูตารางประกอบเล้วกันนะ
#ไม่อยากพูดเยอะ #เจ็บคอ
……………………..…………..

2) ต้องชัดเจนว่าตรงไหนออกสอบตรงไหนไม่ออก
–  เซต , ตรรกศาสตร์ ไม่ออก ( อาจปนๆกับเรื่องอื่นเล็กน้อย )
–  ฟังก์ชันไม่เคยออกแต่มาโผล่ปีล่าสุดเต็มๆ 2 ข้อ
–  ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล ( พยากรณ์ ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องสถิติไม่ออก ( แต่ PAT 1 ออกทุกปี )
–  กำหนดการเชิงเส้นไม่ออก ( แต่ PAT1 ออกทุกปี )

*ที่มา >>> https://bit.ly/2wOeIz7
……………………..…………….

3) คณิตศาตร์ 9 วิชาสามัญ ไม่เหมือน PAT1

–  ขอบเขตการออกสอบคณิตศาตร์ 9 วิชาสามัญ น้อยกว่า PAT1 ( ดูข้อ 2. ประกอบ )
–  ข้อสอบ PAT1 มีมาแล้วทั้งหมด 20 ครั้ง , ข้อสอบ คณิตศาสตร์ 9 วิชาสามัญมีมาแล้วทั้งหมด 7 ครั้ง
–  PAT 1 มี 45 ข้อ คะแนนเต็ม 300 เวลาสอบ 3 ชั่วโมง 30 ข้อแรก choice ข้อละ 6 คะแนน ,
15 ข้อหลัง เติมคำ ข้อละ 8 คะแนน
–  *คณิตศาสตร์ 9 วิชาสามัญ มี 30 ข้อ คะแนนเต็ม 100 เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
10 ข้อแรก เติมคำ ข้อละ 2 คะแนน  ( ง่าย ต้องเก็บให้ได้อย่างน้อย 7 ข้อ ) , 20 ข้อหลัง choice ข้อละ 4 คะแนน  ( 5 ข้อสุดท้ายมักจะยากมาก )
–  ธรรมชาติ ข้อสอบคณิตศาสตร์ 9 วิชา จะเน้นความเข้าใจ  คือจะคิดเลขไม่เยอะเท่า PAT1 ถ้าเข้าใจทดไม่เยอะก็จะได้คำตอบ ถ้าไม่เข้าใจทดไปเกินครึ่งหน้า บอกเลย.. มาผิดทางแล้ว!!
……………………..……..

4. ข้อสอบเก่าโคตรสำคัญ!!

ในที่นี้ครูพี่หนึ่งจะยกตัวอย่าง 3 ข้อ ให้ดูเน้นๆ

<ข้อที่ 1.> ข้อสอบเรื่องความน่าจะเป็น + เมทริกซ์

ซึ่ง PAT1 ไม่เคยออกข้อสอบรูปแบบนี้เลย แต่ คณิตศาสตร์ 9 วิชาสามัญออกทุกปี!!
ครั้งที่ 1. #dek55 ( ข้อ 30 )
ครั้งที่ 2. #dek56 ( ข้อ 26 )
ครั้งที่ 3. #dek57 ( ข้อ 28 )
ครั้งที่ 4. #dek58 ( ข้อ 26 )
ครั้งที่ 5. #dek59 ( ข้อ 29 )
ครั้งที่ 6. #dek60 ( ข้อ 30 )
ครั้งที่ 7. #dek61 ( ข้อ 29 )

<ข้อที่ 2.> ข้อสอบเรื่องการดำเนินการตามแถว
( Row Operation ) เนื้อหาส่วนท้ายๆของเรื่องเมทริกซ์.

เรื่องที่คุณครูที่โรงเรียนส่วนใหญ่อาจสอนไม่ค่อยละเอียด ตัวอย่างแบบฝึกหัดหาทำยากมา
( ไม่เชื่อลองไม่ดูตามหนังสือคู่มือที่ขายทั่วๆไปได้ )

PAT1 เคยออกสอบเรื่องนี้มาแต่ 2 ข้อ คือ เมษา57 และ ตุลา58 ( 10 ปี ออก 2 ข้อ!! ) ถ้าน้องสอบเฉพาะ PAT1 และไม่กะ 200 up เท เชื่อพี่!! แต่คณิตศาสตร์ 9 วิชา ตั้งแต่ปี 56-60 ออกทุกปี ( โดยเฉพาะปี 60 ออก 2 ข้อ )

<ข้อที่ 3.> ข้อสอบเรื่อง cross vector ออกทุกปี!!

จากการสอบมาทั้งหมด 7 ครั้ง
เรื่อง vector ออกสอบทั้งหมด 12 ข้อ
เรื่อง cross vector ออกสอบทุกครั้ง
( ออกสอบ 10 ข้อ จากทั้งหมด 12 ข้อ ) น้องๆคิดว่าปีนี้จะออกสอบหรือไม่ล่ะ

……………………..

5) ฝึกทำโจทย์อย่างมีระบบ

ข้อนี้ครูพี่หนึ่งเจอเยอะมาก ประเภทที่ไป download ข้อสอบเก่าปีนั้นปีนี้ มาลองฝึกทำ แล้วพอทำไม่ได้จิตตก เครียด ฟุ้งซ่าน พี่อยากจะบอกว่า…

ถ้าวันนี้น้องเรียนเนื้อหาคณิตศาสตร์มาครบแล้ว ตั้งแต่ ม.4 – ม.6 และอยากฝึกทำข้อสอบ
ให้ทำดังนี้..
–  เริ่มฝึกทีละบท ไล่ตั้งแต่ ม.4 ไป ม.5 ไป ม.6
เช่น จำนวนจริง , เรขาคณิตวิเคราะห์ , ตรีโกณมิติ , ….
–  เริ่มฝึกจากข้อสอบ ง่ายๆก่อน เช่น การบ้านที่โรงเรียน , แบบฝึกหัดท้ายบท , โจทย์ entrance ( โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยก่อนปี 48 ) แล้วค่อยมาฝึกโจทย์ PAT1 กับ คณิตศาตร์ 9 วิชา
– สุดท้ายลองหาข้อสอบ pre test หรือข้อสอบจริงของเก่า มาทำแบบจับเวลาจริง
น้องหลายคนพอเจอกดดันด้วยเวลา คะแนนน้อยจนน่าใจหายทีเดียว
……………………..……….

6) ต้องรู้จักประมาณตน
ถ้าวันนี้คณะที่น้องต้องการจะสอบเข้า คะแนนไม่สูงมาก ( 55% – 62% ) น้องต้องเข้าใจธรรมชาติความยากของข้อสอบ 9 วิชา คือ ยาก (30%) , ปานกลาง(60%) , ง่าย(10%) ถ้าน้องมัวแต่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปฝึกทำข้อยาก แล้วน้องไปพลาดข้อปานกลางและง่าย พี่บอกเลยว่าน้องมาผิดทาง(อีก)แล้ว!!

ปล.น้องอาจสงสัยว่าข้อยากดูยังงัย พี่บอกเลยว่าคำว่ายากของเราไม่เท่ากันเอางี้.. พอน้องดูเฉลยข้อสอบจะจากแหล่งไหนก็ตาม แล้วรู้สึกมันเกินความสามารถของเราจริงๆ พยายามแล้วไม่เก็ทจริงๆ น้องทำใจกับข้อแบบนั้นไปได้เลย  ไปเก็บข้อปานกลางกับข้อง่าย ให้ได้ชัวร์ๆ คุ้มกว่า เชื่อพี่

……………………..….

7) คณิตศาสตร์วิชาเดียวไม่สามารถช่วยให้ถึงฝั่งได้

ด้วยความที่โรงเรียนของพี่อยู่ที่สยามสแควร์  พี่จะมีน้องจากโรงเรียนที่แข่งขันสูงมาเรียนด้วยเสมอ
ปัญหาที่เจอบ่อยๆ คือ..  พอน้องๆของพี่อยากจะเริ่มฟิต ไปอ่านหนังสือที่โรงเรียน แล้วมักจะเจอ
เพื่อนล้อ เพื่อนแซว จนเสียสมาธิ เห้ย..ซุ่มหรอมรึง เห้ย..ฟิต สาสสสสส

พี่เลยแนะนำว่า ให้มาอ่านหนังสือตามร้านกาแฟตอนเช้า ก่อนเข้าเรียนให้ได้อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
ส่วนตอนเย็นให้รีบกลับบ้านให้เร็วที่สุด จัดการธุระส่วนตัวแล้วรีบนอน!! ตื่นมาสัก 2 ทุ่ม อ่านต่อถึง 5 ทุ่ม แล้วเข้านอน ตอนเช้าก็เริ่มวนลูปแบบเดิม ทำวนไปแบบนี้สัก 1 ปี ทำกับวิชาอะไรก็ได้ แล้วน้องจะพบว่า…
.
เมื่อพฤติกรรมเราเปลี่ยนชีวิตก็จะเปลี่ยนตาม ( จริงๆหัวข้อนี้ดีมากๆ แต่รายละเอียดเยอะ
ไว้ว่างๆจะมาเล่าแบบละเอียดอีกทีละกัน )

……………………..……………………...

8) อย่ามีข้ออ้าง!!

บ้านไกล , บ้านจน , ครูไม่สอน , ไม่มีหนังสือ , ไม่มีคนแนะแนวทาง บลาๆ ยังไม่สำคัญเท่า ขาด passion!!

พี่ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรมาแทนคำว่า passion เพราะมันมากกว่า คำว่า ต้องการ , อยาก หรือ แรงบันดาลใจ

พี่รู้แต่ว่าถ้าเป้าหมายของน้องชัดเจน อุปสรรคต่างๆมันจะเล็กมากๆ มันจะเป็นเพียงแค่สิ่งรกหูรกตาที่อยู่ข้างๆถนน ถนนที่มุ่งไปสู่อนาคตที่น้องต้องการ ( focus ที่เป้าหมายไว้ อย่า focus ที่อุปสรรค )
……………………..……………………..…..

9) ถามตัวเองให้ชัวร์ว่าเราต้องการมันจริงๆใช่ไหม

หลายคนบอกพี่ว่าอยากเรียนหมอ เพราะอยากรวย!! คือ.. น้องครับปีนี้ 2561 แล้ว อย่ายึดติดกับคำว่าอยากรวยต้องเรียนหมออยู่อีกเลย

เชื่อพี่เถอะครับ โลกยุคนี้ สมัยนี้ ยังมีอะไรให้น้องได้เรียนรู้อีกมากมาย….

……………………..……………………..……….

ปรึกษาหรือขอคำแนะนำในการเตรียมตัวสอบ ทั้ง PAT1 และ คณิตศาสตร์ 9 วิชาสามัญ กับครูพี่หนึ่ง
ได้โดยตรงได้ที่ สถาบันกวดวิชา นิสิตติวเตอร์ สยามสแควร์ ซอย 7.เยื้องคณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ เบอร์โทรศัพท์ 084-111-6161

หรือ
คลิก >>> https://line.me/R/ti/p/%40dct5006m

หรือ inbox
คลิก >> www.facebook.com/nisittutor.official/messages
……………………..……………….

สนใจคอร์สเรียนคณิตศาสตร์ ม.ปลายออนไลน์
( เรียนที่บ้านได้เลย )
.
คลิก >>> www.nisittutor-online.com
.
เว็บไซต์เรียนออนไลน์เลข ม.ปลายที่สมบูรณ์แบบที่สุด

About the Author

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

ให้คำปรึกษาฟรี