รัฐศาสตร์ และ นิติศาสตร์ ต่างกัน??
รัฐศาสตร์ และ นิติศาสตร์ ถือเป็นคณะที่มีโครงสร้างในการเรียนการสอนที่ดูเหมือนจะคล้ายกัน เป็นหนอนหนังสือเหมือนกัน เป็นสายท่องจำเหมือนกันอีก จนทำให้น้องๆหลายคนเข้าใจ งงๆว่า ทั้งสองคณะนี้เป็นคณะเดียวกัน
แต่ความจริงแล้ว ทั้งสองคณะ มีการเรียนการสอนที่แตกต่างกันนะคะ ตลอดจนสายอาชีพก็แตกต่างกันด้วยค่ะ
” รัฐศาสตร์ “
คณะรัฐศาสตร์ เปิดสอนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการรัฐ การเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ กล่าวคือ ต้องอาศัยศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์เข้ามาประกอบการศึกษา อธิบายภาวะต่าง ๆ ทางสังคม ที่เกิดขึ้นได้
รัฐศาสตร์เรียนอะไรบ้าง?
- สาขาการเมืองการปกครอง
เรียนเกี่ยวกับปรัชญาและความคิดทางการเมืองเช่น รัฐธรรมนูญ รัฐสภา พรรคการเมือง การเลือกตั้งและปัญหาทางการเมือง และสังคมที่สำคัญๆ เช่น ธุรกิจกับการเมือง ทหารกับการเมือง การเมืองของผู้ใช้แรงงาน
- สาขารัฐประศาสนศาสตร์
เรียนเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการในหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบราชการและหน่วยงานของรัฐ ภายใต้ภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง เป้าหมายของสาขานี้ คือปากท้อง ความสุขของส่วนรวมประชาชน
- สาขาการระหว่างประเทศ
เรียนเกี่ยวกับด้านการเมืองระหว่างประเทศนโยบายต่างประเทศของกลุ่มประเทศต่างๆ องค์การระหว่างประเทศและประวัติศาสตร์การทูตทำความเข้าใจกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ ความสำคัญทั้งต่อภาครัฐบาลและภาคเอกชนเกี่ยวข้องกับเรื่อง การพัฒนา สิ่งแวดล้อม อำนาจการปกครองของแต่ละประเทศ และสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศ
แนวทางการประกอบอาชีพ >> สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน โดยเฉพาะงานทางด้านบริหารจัดการข้อมูล และวิจัย สามารถทำงานราชการในตำแหน่งงานที่ ก.พ.กำหนด ทำงานด้านการทูต งานด้านวิเทศสัมพันธ์ หรือกิจการต่างประเทศ งานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และการวางแผนในภาคราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน
——————————–
” นิติศาสตร์ “
นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สามารถแบ่งออกเป็นหลายแขนงได้ตามแง่มุมที่ศึกษา เช่น วิชานิติศาสตร์โดยแท้ (legal science proper), นิติศาสตร์ทางข้อเท็จจริง (legal science of facts) และ นิติศาสตร์เชิงคุณค่า (legal science of values) การเรียนที่เน้นเกี่ยวกับตัวบทกฎหมาย ทำความเข้าใจข้อบังคับใช้กฎหมายต่างๆ
นิติศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง?
เรียนเกี่ยวกับตัวบทกฎหมาย ทำความเข้าใจข้อบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ศึกษาเกี่ยวกับ กฎเกณฑ์ ความประพฤติ ของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยกำหนดออกมาเป็น กฎหมาย เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกัน อย่างมีระเบียบและมีความสุข
ปี 1 เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป
เรียนเหมือนกันทุกสาขา เช่น จิตวิทยา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ในด้านภาษาและการสื่อสาร เน้นการ ฟัง พูด อ่าน เขียน และเริ่มเรียนความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย
ปี 2 เริ่มเรียนวิชาบังคับ
ปีนี้จะเริ่มเรียนกฎหมายในลักษณะหนี้ กฎหมายลักษณะละเมิด เช่นซื้อขาย เช่า จำนอง จำนำ กู้ยืม ฯลฯ เรียนกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
กฎหมายมหาชนเบื้องต้น และเรียนวิชาเลือกที่เกี่ยวกับกฎหมาย เช่นการใช้ศัพท์และสำนวนกฎหมายภาษาอังกฤษ
ปี 3 เรียนในด้านกฎหมายเข้มข้นขึ้น
เรียนเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง กฎหมายลักษณะครอบครัว กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายภาษีและวิชาเลือก
ปี 4 เรียนในเชิงลึกขึ้น
ปีสุดท้ายที่เรียนก็จะมีเรียนกฎหมายนิติปรัชญา เช่นแนวความคิดปรัชญาทางกฎหมาย ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และเรียนหลักวิชาชีพนักกฎหมาย กฎหมายแรงงาน หลักวิชาชีพนักกฎหมาย กฎหมายการคลัง การภาษีอากร และวิชาเลือกทางกฎหมายที่คณะกำหนด
แนวทางการประกอบอาชีพ >> ผู้พิพากษา อัยการ หรือทนายความ นอกจากนั้น การจบนิติศาสตร์ยังสามารถทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน และยังสามารถทำงานด้านกฎหมายทั่วไปได้ด้วย
————————
จากข้อมูลที่กล่าวมา น้อง ๆ คงพอจะเข้าใจระหว่างรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ มากยิ่งขึ้นนะคะเพราะฉะนั้นก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัย ลองถามใจตัวเองดี ๆ ว่าเราชอบหรือรักที่อยากจะเรียนสาขาวิชาไหนกันแน่ เพื่อที่จะได้ไม่เสียเวลาในภายหลังค่ะ !
ขอบคุณข้อมูลจาก www.sanook.com/campus/1403244
ติดตามนิสิตติวเตอร์ได้ที่
Line @nisittutor
Tel : 084-111-6161
Instragram : nisit_tutor
Twitter : nisittutor
Youtube : nisit tutor